Category สาระความสุข

จิตที่ฝึกดีแล้ว..นำสุขมาให้

      ในแต่ละวัน เราได้หันกลับมามองดูจิตใจของเราบ้างไหม ลืมดูแลใจของเราไปหรือเปล่า ใจที่วิ่งวนเรื่อยไป คิดสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ใจดวงนี้ไม่เคยได้หยุดพักเลย       เพราะใจของเราไม่มีที่ยึดเกาะ จึงมักจะหาที่ยึดเกาะ เพื่อให้เจอกับความสุข จึงได้วิ่งวนเรื่อยไปค้นหาสิ่งต่างๆ ที่จะเติมเต็มใจให้มีความสุข และยึดเกาะไปตามสิ่งต่างๆ ที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นรูปที่มากระทบตา เสียงที่มากระทบหู กลิ่นที่มากระทบกับจมูก สัมผัสที่กระกบกับกายของเรา ทำให้ใจของเราไม่เคยอยู่นิ่งเลย      และเมื่อเจอสิ่งต่างๆ ที่มากระทบแล้ว ย่อมทำให้เกิดความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง เพราะย่อมเจอทั้งสิ่งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ แต่ทั้งสิ่งที่ชอบใจและไม่ชอบใจนี้ ก็ไม่เคยอยู่คงทนถาวร เพราะตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ โลกที่เต็มไปด้วยโลกธรรม 8 ประการ        ธรรม 8 ประการนี้ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีคนสรรเสริญบ้าง นินทาบ้าง มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ซึ่งเป็นของประจำโลก ที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย จะวนเวียนเข้ามาอยู่ในชีวิต เป็นเหตุให้ใจของเรากระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา       แต่ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาก็ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่อยู่กับเราเพียงชั่วคราว เพียงแต่ใจเราไปยึดไปเกาะไว้เท่านั้นเอง และแท้จริงแล้วเราเองสามารถสร้างใจของเรามีความสุขได้ เมื่อใจของเรามีความสุขด้วยตนเองได้แล้ว ใจจะไม่ต้องไปยึดเกาะกับสิ่งใดเลย ใจที่นิ่งสงบนี่เองที่เป็นใจที่มีพลังและมีความสุข ที่เราสามารถค้นพบได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายนอก      เพียงแต่เราให้โอกาสตนเองได้มาฝึกใจวันละเล็กวันละน้อย ฝึกรู้เท่าทันใจของเรา ที่จะทำให้เรามีที่พึ่งคือใจของเราเอง ยิ่งฝึกใจให้นิ่งได้มากเท่าไหร่ เราจะมีความสุขในชีวิตได้มากขึ้นได้เท่านั้น ดังพุทธพจน์ที่ว่า จิตฺตํ ทนฺติ สุขาวหํ แปลความหมายว่า จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้       มาฝึกใจของเรา เรียนรู้วิธีการทำสมาธิแบบง่ายๆ สบายๆ เติมความสุขให้ใจได้ใน คอร์สสมาธิออนไลน์กลั่นใจให้เป็นสุข เรียนฟรีตลอดหลักสูตร ไม่เสียค่าใช้จ่าย สมัครหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

อะไรคือความสุขที่แสวงหา

    เราทุกคนล้วนแล้วแต่อยากจะมีความสุข แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า…ความสุขที่แสวงหาคืออะไร แล้วอะไรที่จะเป็นความสุขที่จะอยู่กับเราตลอดไป        หลายๆ คนอาจคิดว่า….หากได้เป็นมหาเศรษฐี​ มีหน้าที่การงานที่ดี มีเพื่อนที่ไว้ใจ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีแต่คนที่เรารักอยู่ลายล้อม ได้ใช้ชีวิตอย่างที่อยากจะเป็น ชีวิตคงจะมีความสุข       …แต่แล้วชีวิตก็ไม่ได้ง่ายเช่นนั้น บ่อยครั้งที่เราก็ยังคงเห็นการฆ่าตัวตายของดารา มหาเศรษฐี บุคคลที่มีชื่อเสียง ในหน้าข่าวต่างๆ ฉะนั้นแล้ว การมีทุกอย่างพร้อม…ก็คงยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต     เพราะไม่ว่าจะรวยหรือจน สูงศักดิ์หรือต่ำศักดิ์ แม้ว่ามองดูจากภายนอก คนที่ร่ำรวยกว่าเราน่าจะมีความสุข แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใด ก็ยังมีทุกข์ในแบบของชนชั้นนั้นๆ การแสวงหาจึงไม่เคยจบสิ้นเลย ความสุขที่เราแสวงหาเหล่านี้ ไม่เคยอยู่ยั่งยืนเลย แล้วอะไรกันนะ…คือความสุขที่ยั่งยืน       เมื่อวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรม พระองค์ทรงค้นพบต้นเหตุ​ที่ทำให้คนทุกคนในโลก รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องคอยแสวงหา และเกิดความทุกข์อยู่ร่ำไป ซึ่งต้นเหตุนั้นก็เกิดจากกิเลสที่มีอยู่ภายในใจ       เพราะถูกโลกใบนี้หล่อหลอมมายาวนาน ทุกชีวิตจึงแสวงหาสิ่งต่างๆ ไปตามกระแสโลก ตามกิเลสที่อยู่ภายในใจ แม้แต่ความคิดต่างๆ ก็ถูกสั่งสมมาเรื่อยๆ ใจดวงนี้จึงไม่เคยหยุดนิ่งเลย แต่แท้ที่จริงแล้ว ใจดั้งเดิมของมนุษย์เป็นใจที่สว่าง สงบ ผ่องใส และเบาสบาย  ความสุขที่แสวงหา…อาจไม่ได้อยู่ไกล     ความสุขที่ทุกคนแสวงหา..จึงไม่ได้อยู่ที่ไหนไกล เพราะความสุข ความทุกข์ ทั้งหลายล้วนมาจากใจของเรา การสร้างความสุขจึงเริ่มต้นได้ด้วยการสร้างจากใจของเรา     เราคงไม่เคยคิดว่า ความสุขที่เกิดจากใจที่สงบ ความสุขที่เกิดจากใจที่ชุ่มเย็น ความสุขเหล่านี้จะให้ความสุขที่มากกว่า และเป็นสุขที่ไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆ เพียงแต่ต้องให้โอกาส ให้เวลากับตัวเราในการฝึกสมาธิ ทำใจของเราให้หยุดให้นิ่ง ให้ใจของเรากลับไปสู่ภายใน กลับไปสู่จุดดั้งเดิมที่เป็นอยู่     แล้วจะค้นพบด้วยตัวเราเองว่า สุขที่เกิดจากใจที่สงบ สุขที่ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด​เป็นอย่างไร เพียงแค่หมั่น “กลั่นใจให้เป็นสุข​” เติมสุขให้ใจวันละนิดด้วยสมาธิ แล้วเราจะยืนยันด้วยตัวเราได้ว่า พุทธพจน์ที่ว่า “นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ​” แปลความหมาย​ว่า “ความสุขอันยิ่งกว่าความสงบย่อมไม่มี” นั้น เป็นความสุขที่แท้จริงที่มีอยู่ภายในตัวของเรา

วิธีฝึกใจให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรม  คือ ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งก็ด้วยการนำใจกลับเข้าไปสู่ภายใน เพราะฉะนั้นแล้วในการปฏิบัติธรรมอย่ากังวลว่าจะไม่ก้าวหน้า เพราะธรรมะทั้งหลายมีอยู่ในตัวของเรา แต่ว่ามันเป็นของละเอียดเท่านั้นเอง หากเราอยากให้ใจสงบ พอความอยากเหล่านี้เกิดขึ้น ความตั้งใจก็จะตามมา แล้วจะไปบีบ ไปเค้น     วิธีการคือ ทำใจให้หยุดให้นิ่งสบายๆ หากฟุ้งเป็นภาพหรือเสียง จะใช้วิธีกำหนดนิมิตก็ได้ ภาวนาก็ได้ หรือวางใจเฉยๆ ก็ได้ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ใจเย็นๆ รักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่อง ให้มีความมั่นใจว่า สักวันหนึ่งเราต้องเข้าถึงธรรม ขอแค่เรามีความเพียร และทำให้ถูกวิธี เพราะสิ่งนี้มีอยู่แล้วในตัวของเรา แล้วทำอย่างสบายๆ       รักษาอารมณ์ดี อารมณ์สบาย อารมณ์แจ่มใส ให้ใจเป็นกุศลตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเวลา สิ่งนี้จะช่วยให้เราเข้าถึงจุดนั้นได้เร็วเข้า และ ฝึกเป็นผู้ให้ ทำความรู้สึกว่า เราเป็นผู้ให้ ถ้าเมื่อไร มีความรู้สึกว่า เราเป็นผู้ให้ได้ และเป็นผู้ให้จริง ๆ ตลอด 24 น. อย่างนั้น มาดูว่าเราสามารถให้อะไรได้บ้าง ให้ความรัก ให้ความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่อทุกคนด้วยใจจริง ให้รอยยิ้มกับทุกๆ คน ให้อภัยกับคนที่ล่วงเกินเราจนกระทั่งใจเราสบาย ให้วิทยาทาน ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังกาย กำลังใจ ให้อาหาร ให้ข้าว ให้น้ำ ให้ทุกสิ่งที่เป็นวัตถุ ให้ความปลอดภัยในชีวิตทุกชีวิต (ศีลข้อที่ 1)  ให้ความปลอดภัยในทรัพย์สิน (ศีลข้อที่ 2) ให้ความปลอดภัยในครอบครัวเขา (ศีลข้อที่ 3) ให้ความจริง (ศีลข้อ 4) ให้ความมีสติ (ศีลข้อ 5) ให้โอกาสตัวเราเองปฏิบัติธรรมให้สม่ำเสมอ       ถ้าเราฝึกเป็นผู้ให้ไปเรื่อยๆ ให้ทุกวันๆ ใจจะผ่องใส ใจจะสบาย เดี๋ยวจะเข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆ เลย ทำไปอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ เดี๋ยวจะต้องถึงอย่างแน่นอน        เรียนรู้วิธีการปฏิบัติธรรม การรักษาอารมณ์ดี อารมณ์สบาย โดยมีพระอาจารย์แนะนำ สามารถถามตอบได้โดยตรงได้ใน คอร์สสมาธิออนไลน์กลั่นใจให้เป็นสุข เรียนฟรีตลอดหลักสูตร ไม่เสียค่าใช้จ่าย สมัครหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

4 สิ่งที่ต้องมีในการปฏิบัติธรรม

      ในการปฏิบัติธรรม ธรรมะทั้งหลายมีอยู่แล้วในตัวของเรา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรม  คือ ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งก็ด้วยการนำใจกลับเข้าไปสู่ภายใน เพราะฉะนั้นตลอดเส้นทางสายกลางภายใน ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ เป็นเส้นทางที่ไม่ทุรกันดาร เป็นเส้นทางของผู้มีบุญ จึงต้องใช้วิธีที่ง่ายๆ คำว่า “ยาก” ไม่มีเลย โดยเพียงดูว่าเรามีครบทั้ง 4 สิ่งนี้ในการปฏิบัติธรรมในแต่ละวันไหม    1. สติ ก็คือการดึงใจกลับมาอยู่กับตัว ฝึกดึงใจกลับมาอยู่กับตัวบ่อยๆ ฝึกจนกว่าจะเป็นนิสัยของเรา จนกระทั่งใจอยู่กับตัวตลอดเวลาเลย       2.  สบาย คือ ทำอย่างสบายๆ ไม่มึน ไม่ซึม ไม่ตึง ระบบประสาทกล้ามเนื้อต้องไม่เกร็ง ไม่เครียด ต้องผ่อนคลาย รักษาอารมณ์ดี อารมณ์สบาย อารมณ์แจ่มใส ให้ใจเป็นกุศลตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเวลา      3.  สมํ่าเสมอ คือทำให้ได้ทุกวัน ทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน  ให้ฝึกฝนทำไปอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วัน การเข้าถึงธรรมะภายในตรงนี้สำคัญมาก เพราะเราจะมีความสุขมีที่พึ่งให้กับตัวเราเอง พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเป็นสุขด้วยตัวของท่านเองก็ด้วยใจที่หยุดนิ่ง      4. สังเกต เวลาเลิกนั่งสมาธิแล้ว ให้หมั่นสังเกตว่า เราทำถูกไหม ถ้าไม่ถูกก็ปรับปรุงแก้ไข ถ้าถูกก็ทำให้เจริญขึ้น คล่องขึ้น ให้ชำนาญขึ้น       เพราะไม่มีทางลัดอื่นใดที่จะเข้าถึงธรรม นอกจากค่อยๆ สั่งสมความละเอียดของใจ สั่งสมการหยุดการนิ่งไปเรื่อยๆ แล้วก็ปรับให้ถูกวิธี ให้ใจรู้สึกว่าพอดีๆ ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ฝึกไปเรื่อยๆ ทำใจให้เบิกบาน ให้สบายๆ ขึ้นอยู่กับเราทำบ่อยๆ ซ้ำๆ      เรียนรู้วิธีการปฏิบัติธรรม ให้มี สติ สบาย สม่ำเสมอ และสังเกต โดยมีพระอาจารย์แนะนำ สามารถถามตอบได้โดยตรงได้ใน คอร์สสมาธิออนไลน์กลั่นใจให้เป็นสุข เรียนฟรีตลอดหลักสูตร ไม่เสียค่าใช้จ่าย สมัครหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

นักชีวโมเลกุล เจ้าของรางวัลโนเบล แนะวิธีช่วยชะลอวัย อายุยืน

     เราคงเคยสงสัยว่าเหตุใดสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์เราจึงแก่เฒ่าจนอวัยวะในร่างกายเสื่อมสภาพลงไปอย่างไร้ทางหยุดยั้ง และจะมีวิธีไหนที่จะทำให้ความอ่อนเยาว์คงอยู่กับเรานานๆ ได้ไหม…ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้สืบสาวพบต้นตอแห่งความแก่และวิธีที่จะช่วยชะลอวัยได้อีกด้วย    มีงานวิจัยที่น่าสนใจ และเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากในหมู่นักวิจัย คือ เรื่องของหน่วยพันธุกรรมของคนเรา ที่เรียกว่า “โครโมโซม” ซึ่งเป็นตัวควบคุมลักษณะทางร่างกายและการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย     โครโมโซมมี 23 คู่ 46 อัน เราลองนำเอามา 1 คู่มาดูดังภาพ จะเห็นว่า 1 คู่มี 2 อันเชื่อมติดกัน ตรงปลายสายโครโมโซม จะมีลักษณะคล้ายหมวกคลุมอยู่ (สีแดงในภาพ) เรียกว่า ทีโลเมียร์ (Telomere) เวลาเซลล์แบ่งตัว เจริญเติบโตขึ้นทุกๆ ปี ทีโลเมียร์จะสั้นลง     ในคนหนุ่มสาวทีโลเมียร์จะยาวกว่าคนสูงอายุ ทีโลเมียร์จะเป็นตัวป้องกันปลายสายโครโมโซมต่ออนุมูลอิสระต่างๆ ที่จะมาทำลาย ถ้าไม่มีตัวนี้ปลายสายจะบานออก และจะเชื่อมติดกับปลายสายอันอื่น ทำให้สูญเสียหน้าที่และแตกสลายไป   ทีโลเมียร์เปรียบเหมือนปลอกพลาสติกที่หุ้มปลายเชือกผูกรองเท้า ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ปลายบานออก เวลาสนปลายเชือกเข้ากับรูของรองเท้าก็จะสะดวกง่ายดาย แต่ถ้าไม่มีปลอกพลาสติกหุ้ม ปลายสายเชือกจะบานออก ก็จะใช้งานไม่ได้ “ทีโลเมียร์ที่สั้นลงหมายความว่า อายุของเราก็สั้นลงด้วย”   แต่ธรรมชาตินั้นก็ได้สร้างเอนไซม์ตัวหนึ่ง ที่จะมาช่วยให้ดำรงสภาพความยาวของทีโลมียร์เอาไว้ เรียกว่า เอนไซม์ทีโลเมอร์เรส (Telomerase) เอนไซม์ตัวนี้ช่วยทำให้ทีโลเมียร์ไม่สั้นลงเร็วเกินไป เซลล์ปกติแบ่งตัวแต่ละครั้งมันจะสั้นลงบ้าง จำนวนครั้งของการแบ่งตัวก็มีจำกัด นั่นหมายความว่าถ้าเอนไซม์ตัวนี้ทำงานได้ดี เราก็จะมีอายุยืน แต่ถ้าเอนไซม์ตัวนี้ทำงานได้น้อยลง อายุเราก็จะสั้นลง     ผู้ที่ค้นพบเอนไซม์ตัวนี้ คือ ดร.อลิซาเบท แบล็คเบิร์น (Elizabeth Blackburn) เธอเป็นศาสตราจารย์ด้านชีวโมเลกุล จากผลงานการค้นคว้าเรื่องนี้ เธอและคณะได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาทางการแพทย์ในปี 2009     งานวิจัยของ ดร. แบล็คเบิร์น พบอีกว่า ภาวะทีโลเมียร์สั้นลงมีความสัมพันธ์กับโรคต่างๆ คือ โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะดื้อต่ออินซูลินภาวะสมองเสื่อม โรคอ้วน และในภาวะความเครียดเรื้อรัง    ในเซลล์ปกติ ความสามารถในการแบ่งตัวของเซลล์ จะถูกจำกัดโดยความยาวของทีโลเมียร์ พบว่า ทีโลเมียร์จะสั้นลงทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัว และเมื่อมีการแบ่งตัวหลายๆ ครั้งจนทีโลเมียร์สั้นถึงระดับหนึ่งแล้วเซลล์ก็จะตายลง    ในเซลล์มะเร็งมันสามารถจะแบ่งตัวได้โดยไม่จำกัด มากกว่าร้อยละ 90 ของเซลล์มะเร็งจะมีการสร้างและการทำงานของเอนไซม์ทีโลเมอร์เรสผิดปกติ เราสามารถตรวจพบในชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็ง และในเซลล์ที่เผชิญกับสารอนุมูลอิสระ ทีโลเมียร์จะสั้นลงเร็วกว่าเซลล์ปกติ      ผลการวิจัยจากการทำการทดลองกับอาสาสมัครพบว่า มีปัจจัยการใช้ชีวิตที่ช่วยเร่งให้เทโลเมียร์สั้นลง เช่น การทานอาหารพวกเนื้อแดง, อาหารที่มีน้ำตาลมาก, การสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ เป็นต้น…

อะไรคือเป้าหมายของชีวิต

     เราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายชีวิตที่แท้จริง หลายคนคงเคยสงสัย และพยายามค้นหาความหมาย และคำตอบของการมีอยู่ของชีวิตว่า วันเวลา และการดำรงอยู่ของเรามีไว้เพื่ออะไร       แท้จริงแล้วคำตอบของคำถามเหล่านั้น ไม่ได้เป็นความลับเลย ความรู้และความจริงเกี่ยวกับคำถามเหล่านั้นมีอยู่อย่างเปิดเผย เรียบง่าย ตรงไปตรงมา เบื้องหน้าของเราตลอดมา หากเพียงแต่ว่าเราจะให้เวลาในการมองดู เรียนรู้ และพิสูจน์ด้วยตัวเราเองสักหน่อย   คำตอบของชีวิตได้ถูกเปิดเผย ในวันที่สมณะสิทธัตถะได้ปรารภความเพียร เจริญสมาธิภาวนา จนใจบริสุทธิ์หยุดนิ่ง หลุดพ้นจากอวิชชา กิเลสอาสวะที่ครอบงำใจอยู่ แล้วเข้าสู่ความตื่นรู้ ได้รู้แจ้ง ได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเห็นแจ้งในเหตุและผลของการดำรงอยู่ของชีวิต ทั้งของพระองค์เอง และของสรรพชีวิตทั้งปวงที่เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร…ว่ามีเหตุเป็นมาอย่างไร และเหตุเหล่านั้น ส่งไปสู่ผลลัพธ์ที่ทำให้ชีวิตเป็นไปอย่างไร     เรื่องราวความจริงของชีวิตจากการค้นพบด้วย “ภาวนามยปัญญา”  คือ ปัญญาอันบริสุทธิ์จากสมาธิขั้นสูงสุด ในระดับกำจัดกิเลสได้ของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ทำให้พระองค์หลุดพ้นจากอวิชชา ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เราเห็น Time line ชีวิตที่สามารถได้คำตอบว่า เราเกิดมาทำไม  เกิดมาเพื่อทำอะไร อะไรคือ เป้าหมายชีวิต และ “ชีวิต” ที่เรามีอยู่ ณ ขณะนี้ เราต้องใช้ชีวิตอย่างไร ?     สิ่งแรกที่เราต้องเข้าใจ คือ ความจริงที่ว่า เราทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกับความทุกข์ ทุกข์ 2 ประเภทใหญ่ๆ ที่ทุกชีวิต ไม่ว่าจะร่ำรวย หรือยากจน จะเป็นหญิง หรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ อยู่ที่ไหนในโลก…ต้องเผชิญเสมอกัน จะมาก หรือน้อย คือ ทุกข์ประจำ ทุกข์ที่มีแก่ทุกคนตามธรรมชาติ ได้แก่ การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ทุกข์จร เป็นสภาวะทุกข์ที่มา แล้วหาย แล้วก็มาใหม่วนไป  ได้แก่ ความโศก ได้แก่ ความเศร้าใจ หรือความแห้งใจ ความพิไรรำพัน ได้แก่ ความคร่ำครวญ หรือความบ่นเพ้อ ความทุกข์ทางกาย ได้แก่ ความเจ็บไข้ หรือความบาดเจ็บ ความโทมนัส ได้แก่ ความไม่สบายใจ หรือความน้อยใจ ความคับแค้นใจ ได้แก่ ความตรอมใจ หรือความคับอกคับใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบใจ ความพรัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่ชอบใจ ความปรารถสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น       นี่คือ พื้นฐานของชีวิต…

ทำจิตให้สงบ…แล้วจะพบทางออก

      เมื่อพูดถึงคำว่า “ปัญหา” แล้ว เชื่อว่าไม่มีใครที่เกิดมา แล้วไม่เคยพบเจอกับปัญหา ทั้งปัญหาเล็กๆ ที่จุกจิกกวนใจ  จนกระทั่งปัญหาใหญ่ๆ ที่ส่งผลกระทบกับตัวเราเองคนรอบข้าง… โดยเฉพาะปัญหาที่รุมเร้าเข้ามาจนทำให้คุณรู้สึกมืดแปดด้าน และไม่รู้จะหาทางออกในการแก้ปัญหาได้อย่างไร…      ด้วยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์เรานั้นต้องประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือต่างๆ ต้องใช้เงิน ใช้เวลาในการคิดค้นหาทางป้องกันและกำจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งที่บ้านและที่ทำงาน แต่บางครั้งก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง แต่มีอีกวิธีหนึ่ง ที่ไม่ต้องสร้างเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ มาใช้เลย วิธีการที่ว่าก็คือ “การฝึกสติ และการทำสมาธิ” “ทำไมเราถึงต้องฝึกสติและทำสมาธิ”      เพราะจิตใจธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความสว่าง มีความสุข ความสงบอยู่ในตัว แต่เมื่อถูกโลกหล่อหลอมมานาน จึงถูกกระแสโลกดึงใจมากขึ้นๆ จิตจึงเคลื่อนไหว ไม่สงบ และเมื่อมีสิ่งใดมากระทบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือที่เป็นปัญหา จิตของเราจะฟุ้งซ่าน สับสน จนก่อให้เกิดความเครียดได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นปัญหาที่คุณรับมือได้ก็ตาม เมื่อความคิดและจิตใจไม่สงบ หรือไม่ทันได้ตั้งสติแล้ว ปัญหานั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่ยากเกินแก้ไขได้      การฝึกสติและการทำสมาธิจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตทั้งในเวลาปกติ และเวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้น เราอาจจะคิดว่าเรื่องของการฝึกสติและสมาธินั้น เป็นเรื่องของพระสงฆ์  เรื่องของฤาษีชีไพร แต่แท้ที่จริงแล้ว สมาธิและการฝึกสตินั้นเป็นทรัพย์สมบัติของมนุษย์ทุกคน เพราะเป็นวิธีที่จะช่วยให้จิตใจมีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีจิตใจสงบ มีความสุขได้ด้วยตัวเราเอง ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ในทุกอริยบท ทั้ง ยืน เดิน นั่ง นอน โดยไม่จำกัดชาติ ศาสนา  เพศ และวัย ใครๆ ก็ฝึกสมาธิได้ “หยุดมองแต่ปมปัญหา แต่ให้อยู่กับสมาธิ…บ่อเกิดแห่งปัญญา”    แม้จะมีปัญหาเกิดขึ้น จะหาหนทางแก้ปัญหา ก็ต้องเริ่มต้นจากจิตที่หยุดกับนิ่งก่อน คือ หยุดหันมองสิ่งที่เป็นปมปัญหา เพื่อจิตจะได้กลับไปสู่แหล่งแห่งสติปัญญา เพราะเมื่อเวลาใจหยุดนิ่ง ใจจะเป็นสมาธิ สมาธิเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา เราก็จะเห็นว่า ปัญหามีวิธีการคลี่คลายของมันไป เราจะแก้ปัญหาในจุดที่แก้ได้ก่อนโดยเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ คือ จิตใจของเรา ทำใจให้ปลอดโปร่ง ให้สบาย ให้ตั้งมั่น แล้วเดี๋ยวปัญหาก็จะค่อยๆ คลี่คลาย   เมื่อจิตใจสงบตั้งมั่นจากการทำสมาธิ จะเกิดคลื่นอัลฟาที่เป็นคลื่นความถี่ต่ำในสมอง ที่จะทำให้จิตใจมีสมาธิจดจ่อ และไม่มีความเครียด จึงสามารถคิดพิจารณา ใคร่ครวญถึงปัญหาต่างๆ อย่างถี่ถ้วน หากเปรียบเทียบใจที่ฟุ้งซ่าน ก็เหมือนกับเมื่อน้ำที่ขุ่นๆ แม้มีกุ้งหอย ปู ปลา เต็มทะเล เราก็มองไม่เห็น แต่เมื่อใดที่จิตสงบก็เปรียบเหมือนกับน้ำที่ใสๆ ไม่ว่าจะมีกุ้งหอย ปู ปลา ตัวเล็ก ตัวใหญ่ เม็ดกรวด เม็ดทราย เพชรนิลจินดา ก็สามารถมองเห็นได้…

ผลวิจัยพบ สมาธิเปลี่ยน DNA ได้

       เราเคยได้ยินว่าการทำสมาธิภาวนาช่วยให้เกิดความนิ่งของจิตใจ จิตสงบ สุขใจ ไร้เครียด ผ่อนคลาย ความจำดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในด้านจิตใจหรืออวัยวะของร่างกาย เราคงไม่เคยได้ยินว่า การทำสมาธิภาวนาสามารถเปลี่ยนแปลงยีนได้ วันนี้จะเล่าให้ฟังค่ะ        คณะนักวิจัยแห่งโรงพยาบาลชื่อดัง Massachusetts General Hospital ในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา นำโดยคุณเฮอร์เบิร์ต เบนสัน (Herbert Benson) กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พบว่า “การทำสมาธิสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ถึงระดับยีน”    สิ่งที่คุณเฮอร์เบิร์ตทำคือการนำอาสาสมัครมาจำนวน 26 ท่าน ก่อนเริ่มทำการวิจัยก็จะมีการวิเคราะห์ gene profiles ของอาสาสมัครเหล่านี้ไว้เป็นบรรทัดฐาน อาสาสมัครเหล่านี้เป็นคนที่ไม่เคยทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นก็ทำการสอนอาสาสมัครเหล่านี้ให้ทำสมาธิให้เป็น ฝึกการผ่อนคลาย ซึ่งประกอบไปด้วย การฝึกการหายใจเข้า-ออก ท่องคำภาวนา และสอนการตัดความกังวลต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยให้ทำสมาธิทุกวัน วันละ 10-20 นาที     หลังจากทำสมาธิได้ 8 สัปดาห์ ก็นำอาสาสมัครเหล่านี้มาตรวจ gene profiles ซ้ำอีก สิ่งที่พบคือ กลุ่มยีนที่ก่อประโยชน์แข็งขันขึ้น ในขณะที่ยีนที่ก่อผลเสียต่อร่างกายลดความแข็งขันลง        กลุ่มยีนที่ก่อประโยชน์ที่แข็งขันขึ้นนั้น ส่งผลดีสามด้าน ประการแรก เพิ่มประสิทธิภาพของไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ประการที่สอง เพิ่มประสิทธิภาพของการสร้างอินซูลิน ซึ่งช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ประการสุดท้าย ป้องกันการกร่อนสั้นของทีโลเมีย (telomeres) ซึ่งเป็นหมวกปลายยีน มีส่วนในการคง DNA ให้เสถียร และป้องกันการเสื่อมสลายและชราภาพของยีน     ในด้านกลุ่มยีนที่ก่อผลเสียต่อร่างกายที่ถูกลดทอนความแข็งขันลงจากการทำสมาธิ คือ ยีนกลุ่ม NF-kappa B ซึ่งยีนนี้กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ของเซลล์ เมื่อมีการอักเสบเรื้อรังผลที่ตามมาคือ การมีความดันโลหิตสูง การเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน การเป็นโรคทางเดินอาหารอักเสบ รวมไปถึงการเป็นมะเร็งบางชนิด    จะเห็นว่าผลของการทำสมาธิ เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก ที่น่าทึ่งอีกอย่างคือ “ผลเหล่านี้เกิดหลังการทำสมาธิเพียงไม่กี่นาที!”   คุณจูลี่ เบรฟซินสกี้-เลวิส (Julie Brefczynski-Lewis) นักวิจัยผลของสมาธิต่อสรีรวิทยาของร่างกายแห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียตะวันตก (West Virginia University) เมืองมอร์แกนทาวน์ กล่าวว่า ผลของสมาธิเกิดขึ้นเร็วในเวลาเพียงแค่ 15-20 นาทีเท่านั้น และในทำนองตรงกันข้าม เวลามีความเครียดก็ส่งผลเร็วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งฮอร์โมนความเครียด…

มหัศจรรย์! 8 นิสัยดีเกิดขึ้นหลังนั่งสมาธิครบ 100 วัน

      “แม้นับถือคริสต์ อัศจรรย์หลังนั่งสมาธิครบ 100 วันก็บังเกิด” ฝรั่งคนหนึ่งชื่อ Kyle V. Robinson เขาได้โพสต์ข้อความเผยแพร่ทาง block ของเขาเรื่อง “8 Things That Happened After I Meditated For 100 Days” เขาเขียนออกมาว่า มันมีสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับเขาดังนี้       เชื่อไหมว่าการนั่งสมาธินำพาสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตของเราได้ ฉันเรียนรู้ถึงประโยชน์การนั่งสมาธิ แม้ที่ผ่านมาฉันนั่งสมาธิไม่เคยเกิน 5-10 นาทีเลย แต่มาวันนี้ฉันได้ตัดสินใจ ลองนั่งสมาธิวันละ 20 นาที ติดต่อกันนานหนึ่งสัปดาห์เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น  เรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่ฝึกนั่งสมาธิ         การทดลองเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 2015 จากสัปดาห์แรกเป็นเดือน จากเดือนเป็นสามเดือน มารู้ตัวอีกทีก็ครบ 100 วันแล้ว ฉันนั่งสมาธิทุกวันในตอนเช้าโดยไม่มีวันหยุดเลย ตอนแรกที่นั่งสมาธิฉันนั่งอยู่นิ่งๆ ไม่ได้เลย ทั้งปวดหลังและเมื่อยขาสุดๆ ฉันรู้สึกเหมือนกำลังพยายามปรับวิธีการนั่งมากกว่าที่จะทำสมาธิ ที่สำคัญฉันต้องฝืนตัวเองไม่ให้ลืมตา       แต่ในที่สุดฉันก็ชินกับการนั่งสมาธิ และร่างกายของฉันก็เริ่มปรับท่าทางให้เป็นไปตามธรรมชาติ ยิ่งนั่งสมาธินานเท่าไร ฉันก็ยิ่งค้นพบวิธีนั่งสมาธิให้สบายมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่นานนักการนั่งสมาธิก็กลายเป็นกิจวัตรในยามเช้าที่ขาดไม่ได้ และสิ่งดีๆ ก็เริ่มทยอยเข้ามาในชีวิตของฉัน         1. มีการจัดเป็นระเบียบความคิด     ยิ่งหัวสมองปลอดโปร่งก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ มีการจัดระเบียบความคิด มีสมาธิกับการทำงานและพร้อมที่จะก้าวสู่งานชิ้นต่อไปได้ง่ายขึ้น ฉันจะตั้งใจทำงานที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุดแล้วค่อยทำงานอื่นต่อไป          2. เริ่มรู้จักคิดก่อนพูด      เดิมทีฉันพูดทันทีที่ความคิดนั้นปรากฏขึ้นมาในหัว แต่ตอนนี้ฉันต้องหยุดคิดก่อนว่าจะพูดอะไร แล้วค่อยตอบกลับไปอย่างระมัดระวัง การหยุดคิดจะช่วยให้ฉันเรียบเรียงคำพูดได้ชัดเจน และเมื่อพูดออกไปแล้วฉันจะทบทวนว่าสิ่งที่พูดไปนั้นดีพอหรือยัง หรือคราวหน้ายังสามารถทำได้ดีกว่านี้อีกไหม ซึ่งปกติฉันไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน          3. สุภาพและรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น        ฉันกลายเป็นคนที่ขี้รำคาญน้อยลง อดทนมากขึ้น ไม่เบื่อกับการต้องเข้าคิวนานๆ ฉันเริ่มมองสถานการณ์ต่างๆ ในมุมมองของคนอื่น ด้วยวิธีนี้เองทำให้ฉันสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระทำต่อคนอื่นได้         4. หลับสนิทและมีพลังเมื่อตื่น    …