Category สาระความสุข

การฝึกสติ เบื้องหลังความสำเร็จของ Google

    มาดูกันว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลกับโลกเราอย่าง Google ใช้การเจริญสติ ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรมออกมาอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร      เราอาจจะสงสัยใคร่รู้ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Google ที่คิดว่าค่อนข้างห่างไกลกับเรื่องของสติ สมาธิ กลับกลายเป็นว่า บริษัทได้ใช้การเจริญสติให้เป็นประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีอิทธิพลต่อโลกของเราอย่างมาก สติ vs นวัตกรรมโลกของเทคโนโลยี และโลกของการเจริญสติ ไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเลย แต่มันกลับพัฒนาไปด้วยกัน นั่นคือสิ่งที่ Google พิสูจน์ให้เห็น         บริษัท Google มีการส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับฝึกการเจริญสติและทำสมาธิด้วยโปรแกรม Search inside Yourself ซึ่งก่อตั้งโดย ชาด หมิง ตัน (Chade Meng Tan) ชาวจีนสิงค์โปร์ ซึ่งเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์หมายเลข 107 ของ Google เขาทำงานเป็นวิศวกรรุ่นแรกๆ ซึ่งระยะแรกมีพนักงานร้อยกว่าคนและมีเฉพาะในอเมริกา แต่ปัจจุบันมีเป็นหมื่นคนกระจายทั่วโลก     Mr.Meng เป็นคนเอเชียที่สนใจศึกษาธรรมะ สมาธิ และการเจริญสติ ตั้งแต่เป็นนักศึกษา และหลังจากจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยนานยาง ในสิงค์โปร์ เขาก็ไปเรียนต่อปริญญาโท สาขาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา หลังจากนั้นเขาเข้าทำงานในบริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ในฐานะวิศวกรซอฟแวร์ เขาเริ่มงานที่ Google ในปี 2000 โดยใช้เวลา 14 ปี ไต่เต้าจากวิศวกรระดับล่างจนถึงระดับบริหาร เขาได้บริหารงานในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตำแหน่งของเขาเรียกว่า Google’s Jolly good Fellow       Mr.Meng ได้กล่าวไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า “Search Inside Yourself” ประโยชน์ของการฝึกสติตามหนังสือจะช่วยทำให้คุณมีทักษะที่สำคัญ 3 ประการที่ดีในการทำงาน ได้แก่  ประสิทธิภาพการทำงานของคุณจะดีขึ้นอย่างมาก  คุณจะมีทักษะความเป็นผู้นำที่โดดเด่นมากขึ้น คุณจะมีความสามารถในการสร้างสถานะที่ทำให้เกิด “ความสุข”      ด้วย 3 ทักษะนี้ เป็นทักษะสำคัญมากกับองค์กรใดๆ ก็ตามบนโลกใบนี้ ที่จะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และนั่นเป็นเหตุผลที่ Google ส่งเสริมการฝึกเจริญสติให้กับพนักงานตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน          โดยโปรแกรม Search Inside Yourself มีหลักการอยู่ 3 ประการ คือ…

พบแล้ว..คนที่มีความสุขที่สุดในโลก

    พระทิเบตวัย 69 ที่วิทยาศาสตร์ถือว่าเป็น ‘คนที่มีความสุขที่สุดในโลก’ จากการถูกวัดระดับความสุขในห้องทดลองถึง 12 ปี และเขาก็เผยเคล็ดลับความสุขแท้จริงอันยั่งยืนให้เราฟังด้วย        แมทธิว รีคาร์ด เกิดในครอบครัวปัญญาชน เป็นบุตรของนักปรัชญามีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส ตั้งแต่เด็กบ้านของเขาหัวกระไดไม่เคยแห้ง มีปัญญาชนไปเยี่ยมเสมอ ตั้งแต่นักคิด นักเขียน จิตรกร นักดนตรี หลายคนเป็นเจ้าของรางวัลโนเบล ทั้งหมดชอบไปถกคุยกัน         ปี 1972 แมทธิวเรียนจบปริญญาเอกสายพันธุกรรมเซลล์ จากสถาบันปาสเตอร์ กรุงปารีส ในวัย 26 เขารู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตในสภาพแวดล้อมนั้น เขารู้สึกว่ามีบางสิ่งขาดหายไปในชีวิต เขาเชื่อว่ามีคำตอบในโลกตะวันออก เขาจึงมุ่งหน้าไปที่อินเดีย        บิดาของเขาไม่พอใจนักที่เขาไปค้นหาคำตอบในโลกตะวันออก แต่เขาก็ไปจนได้ นักพันธุกรรมโมเลกุลหนุ่มละทิ้งทุกอย่าง ไปศึกษาพุทธทิเบต ณ อารามแห่งหนึ่ง ที่กาฐมาณฑุ เนปาล เทือกเขาหิมาลัย      ผ่านไปราว 26 ปี ใต้ร่มกาสาวพัตร์ แมทธิวก็กลับบ้าน และมีโอกาสถกปรัชญาชีวิตกับพ่อ บทสนทนาของทั้งสองกลายเป็นหนังสือเบสต์เซลเลอร์ชื่อ The Monk and the Philosopher หนังสือเกี่ยวกับปรัชญาสมัยใหม่ที่ดีที่สุดเล่มหนึ่ง เขากลายเป็นคนมีชื่อเสียงทันที     และเขากลายเป็นคนดังอีกครั้งในปี 2007 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทางประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ทดลองสแกนสมองของเขา และประกาศว่าเขาเป็นคนที่มีความสุขที่สุดในโลก        ในช่วงที่แมทธิว รีคาร์ด ศึกษาพุทธที่เนปาล เขาฝึกสมาธิคนเดียวในกระท่อมบนภูเขานานห้าปี เขาเรียนจากพระทิเบตว่า เราต้องรับรู้การผูกพัน อัตตาเป็นตัวขับเคลื่อนการยึดมั่นถือมั่น แต่เราสามารถขจัดมันทิ้งด้วยการอยู่กับปัจจุบันและความเมตตา         อาจารย์ของเขาสอนว่า “ขบวนรถไฟแห่งความคิดและสภาวะจิตเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เหมือนรูปทรงของก้อนเมฆบนท้องฟ้า แต่เราชอบยึดมั่นให้ความสำคัญกับมัน” “การทำสมาธิเป็นทางหนึ่งที่จะ ‘ขโมย’ จิตของเราคืนมา”     รากฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เขามองโลกแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็เป็นรากของพุทธศาสนาเช่นกัน เขาบอกว่า ศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต      “ภายในตัวเราทุกคนคือการออกแบบของโลก เรามีความสามารถที่จะเข้าถึงและเข้าใจจักรวาล เพื่อกลายเป็นรูปแบบอื่นๆ” สรรพสิ่งในโลกเป็นการหมุนเวียนเปลี่ยนรูปของสิ่งเดิม และเชื่อมโยงกันในรูปแบบต่างๆ บางครั้งเขาชี้ที่ถ้วยชาแล้วกล่าวว่า “นี่คือน้ำชาที่เธอดื่มตอนนี้ อีกหกชั่วโมงมันจะกลายเป็นเธอ”       เขาบอกว่าเราต้องเข้าใจวิธีคิดและความคิดของเรา เช่น เราคิดว่าเราสามารถควบคุมโลก…

4 เรื่องควรทำตอนเช้า เพิ่มพลังชีวิต

    ในตอนเช้าถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและมีคุณภาพ เมื่อเราตื่นเช้าและทำกิจกรรมต่างๆ จนเป็นกิจวัตร จะสามารถเปลี่ยนวันทั้งวันให้เป็นวันที่มีประสิทธิภาพได้ ลองมาดูกันว่ามีกิจกรรมไหนบ้างที่ควรทำในตอนเช้า เพื่อช่วยให้ชีวิตก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมีพลังและมีความสุข 1. โฟกัสงานสำคัญ      ในตอนเช้าเป็นเวลาที่เราควรนึกถึงเป้าหมายเพื่อให้เกิดการโฟกัส และเลือกหยิบงานที่ต้องใช้สมาธิขึ้นมาทำก่อน เพื่อให้สามารถใช้เวลาสะสางงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ถูกรบกวนด้วยการประชุม หรือเสียงโทรศัพท์ นอกจากนี้ ความสงบในตอนเช้านั้น ยังช่วยให้เรามีไอเดียลื่นไหลในการทำงาน และทำงานให้เรียบร้อยได้อย่างรวดเร็ว สำหรับงานประเภทอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก ก็สามารถทำในช่วงอื่นๆ ของวัน หรือทำในช่วงพักเบรกก็ได้ ซึ่งเมื่อเราใช้เวลาช่วงเช้าเคลียร์งานที่สำคัญออกไปหมด ก็จะช่วยให้เรารู้สึกมีพลัง และลดความเครียดจากการเร่งรีบทำงานสำคัญให้เสร็จภายในวันนั้นลงไปได้มากขึ้น 2. ฟิตร่างกายรับอรุณ    การออกกำลังกายก่อนเวลาเข้างานในช่วงเช้า เป็นเคล็ดลับที่คนสำคัญเลือกทำเป็นประจำ เช่น Howard Schultz, Richard Branson, Tim Cook โดยเหล่า CEO กลุ่มนี้มักตื่นก่อน 6 โมงเช้า เพื่อไปออกกำลังกายอยู่เสมอ ซึ่งจากงานวิจัยมากมายพบว่า การออกกำลังกายในช่วงเช้ามีประโยชน์มากกว่าการออกกำลังในช่วงเวลาอื่น เพราะช่วยลดฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมาในตอนเช้า และยังช่วยให้นอนหลับเร็วและเต็มอิ่มมากกว่าในตอนกลางคืน นอกจากนี้หากเราขยับร่างกายให้ได้ตั้งแต่ 10 นาทีขึ้นไป สมองจะปล่อยสารกาบาออกมาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และความจำ ทำให้ควบคุมโฟกัสสิ่งต่างๆ ได้ดี ลดความเครียด วิตกกังวล และทำให้รู้สึกสบาย เป็นต้น ที่สำคัญการออกกำลังกายตอนเช้า สามารถทำเป็นประจำได้ง่ายกว่า ไม่ถูกขัดจังหวะจากการงานหรือธุระด่วนอื่นๆ ที่เข้ามา ซึ่งเมื่อเราทำได้สม่ำเสมอก็จะช่วยเปลี่ยนแปลงสุขภาพของเราให้ดีขึ้น 3. งดเสพโชเชียลหลังตื่นทันที        อาจเป็นนิสัยเคยชินที่เมื่อตื่นนอนทุกครั้ง หลายๆ คน มักจะหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาดู และเสพสื่อโซเชียลทั้งที่ยังไม่ลุกขึ้นจากเตียงไปอาบน้ำ แปรงฟันด้วยซ้ำ ทำให้เราเสียเวลาในช่วงเช้าดีๆ ไปไม่น้อย การเปิดไลน์ เล่นโซเชียลก่อนอันดับแรกตั้งแต่เริ่มต้นวัน จะทำให้เราเจอกับสึนามิข้อมูลข่าวสาร และถูกดึงความสนใจจากสิ่งต่างๆ ไปอย่างมาก จิตใจวอกแวกไม่จดจ่อ ทำให้เกิดปัญหาสมาธิสั้นในระยะยาวได้ 4. นั่งสมาธิ         สมาธิทำจิตให้จดจ่อ การเริ่มต้นวันด้วยการนั่งสมาธิ จะช่วยให้เราตั้งสติ ทำสมองให้ปลอดโปร่ง ฝึกจิตให้สงบ  นอกจากนี้ การนั่งสมาธิยังช่วยปรับคลื่นสมอง ทำให้เกิดคลื่นระดับอัลฟา ความถี่ 8-12 Hz ที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่เราสวดมนต์ นั่งสมาธิ หรือในช่วงสภาวะก่อนหลับ มีผลทำให้จิตใจสงบ อารมณ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมรับมือกับสิ่งต่างๆ ในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี สมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้วันทั้งวันของเราสามารถใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขมากขึ้น ซึ่งช่วงเวลาหลังตื่นนอนก็เป็นช่วงเวลาที่ดีหากเราได้เติมความสงบในใจก่อน ในช่วงเวลาที่ตื่นขึ้นมา เราอาจจะนึกขอบคุณที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ยังได้หายใจและมีวันใหม่ขึ้นมา แล้วลองนั่งสมาธิ ในเริ่มต้นอาจจะลองทำวันละ 5-10 นาที ก่อนก็ได้…

มานั่งสมาธิกันใน..วันสมาธิโลก

        “วันสมาธิโลก” ปีนี้ มาสร้างสันติภาพด้วยการ “ทำสมาธิออนไลน์” พร้อมกันทั่วโลก เพื่อแผ่ขยายความสุขและความปรารถนาดีไปยังเพื่อนร่วมโลก           วันที่ 6 สิงหาคม ของทุกปี คือ “วันสมาธิโลก” เป็นวันที่เราจะได้รำลึกถึงโศกนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์ และเตือนใจชาวโลก หันมาสร้างสันติภาพด้วยวิถีทางที่สงบ คือการทำสมาธิร่วมกัน ซึ่งเป็นของสากล ที่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ศาสนาใดก็สามารถทำได้       วันสมาธิโลก (World Meditation Day) ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยกำหนดให้เป็นวันที่ 6 สิงหาคม ของทุกปี เนื่องจากวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2488 เกิดเหตุการณ์ที่เป็นโศกนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเกิดการทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในคราวเดียวถึงกว่า 200,000 คน เป็นความเจ็บปวดอย่างที่สุดของมวลมนุษยชาติเท่าที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์     อาจกล่าวได้ว่า ภัยที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติก็คือ “สงคราม” ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ก่อขึ้นมาเอง และตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของโลกนี้ ยังไม่เคยมียุคใดว่างเว้นจากสงครามอย่างเด็ดขาดได้เลย คำว่า “สันติภาพ” จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลกพากันแสวงหามาโดยตลอด        ทั่วโลกจึงได้กำหนดเอาวันนี้ว่า เราจะพร้อมใจกันนั่งสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสิ่งที่จะเชื่อมโยงกระแสใจของชาวโลกทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และทำให้มนุษย์ได้พบกับสันติสุข ก็จะได้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนกัน มีความปรารถนาดีต่อกันฉันญาติพี่น้อง   เพราะฉะนั้นวันนี้จึงเป็นวันดีของพวกเรา ที่จะได้พร้อมใจกันแผ่กระแสใจ อันเต็มเปี่ยมไปด้วยความสงบสุข ความรักและปรารถนาดี แผ่ไปยังชาวโลกทั้งหลายให้สันติสุขเกิดขึ้น ให้เลิกละจากการเบียดเบียน แล้วเกิดแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงจิตใจนั้น มาเป็นจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน สันติสุขที่ทุกคนต่างใฝ่ฝันก็จะพลันเป็นจริงขึ้นมาได้    แล้วเราก็อาศัยกระแสที่เกิดจากความบริสุทธิ์จากการทำสมาธินี้ อุทิศไปให้เพื่อนร่วมโลกที่ได้รับผลพวงจากความทุกข์ทรมานเพราะภัยสงคราม ให้เปลี่ยนจากความทุกข์ทรมาน มาเป็นความผาสุก และก็ให้ความผาสุกที่เกิดขึ้นนี้ยั่งยืนตลอดไป กระแสแห่งความบริสุทธิ์จากการทำสมาธิภาวนา ที่พร้อมเพรียงกันไปทั่วโลกนี้ ก็ยังเป็นอานุภาพอันบริสุทธิ์ ที่แผ่ขยายรุกเงียบไปในบรรยากาศ ขจัดสิ่งที่เป็นมลทินในจิตใจของมนุษย์ และความมืดมิดในดวงจิตให้สว่างไสว จะได้ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ไปสู่สวรรค์และนิพพานได้ และยังเป็นเหตุให้เกิดสันติภาพของโลกอย่างแท้จริง       มาร่วมกันนั่งสมาธิออนไลน์พร้อมกัน เพื่อแผ่ขยายกระแสความรัก ความปรารถนาดี และสร้างสันติสุข สันติภาพให้เกิดขึ้นกับโลกไปนี้  คลิกที่นี่

ใจนั้นสำคัญอย่างไร

      คุณเคยสงสัยไหมว่าใจคืออะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร ใจอยู่ที่ไหน ใจนั้นสำคัญอย่างไร แล้วการควบคุมใจทำได้อย่างไร         ย้อนไปเมื่อ 2,500 กว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระองค์ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงในเรื่องใจ โดยที่ไม่ได้เห็นด้วยอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เห็นด้วยตามนุษย์ แต่เห็นโดยอาศัยการปฏิบัติภาวนา มีพุทธพจน์อันเป็นคำสอนเกี่ยวกับเรื่องใจ ที่ส่งต่อสืบทอดมาถึงพวกเราในยุคนี้มากมาย ขอน้อมนำพุทธพจน์บางส่วนมาฝากค่ะ จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ“การฝึกจิตเป็นการดี” จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ“จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้” จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา“เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้” จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา“เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้” สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํจิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ“ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนักมักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้” ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํอุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ“ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกอันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรงดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น” โย ปหฏฺเฐน จิตฺเตน ปหฏฺฐมนโส นโรภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยาปาปุเณ อนุปุพฺเพน สพฺพสํ โยชนกฺขยนฺติ“นรชนใด มีจิตร่าเริง มีใจเบิกบาน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ นรชนนั้นพึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้โดยลำดับ”      จากพุทธพจน์ในข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า ใจเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ ในเมื่อใจเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมของกาย เพราะฉะนั้นการกระทำทางวาจาก็ดี ทางพฤติกรรมทั้งหมดก็ดี มีใจเป็นผู้สั่งการ ใจเป็นดังหนึ่งกัปตันเรือ เรือจะหันเหไปทิศทางไหนก็ขึ้นอยู่กับกัปตัน เพราะฉะนั้นการฝึกฝนใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราสามารถควบคุมใจได้ เราก็จะควบคุมกายของเราได้ ในชีวิตนี้จึงควรฝึกฝนใจ เพราะใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นทางมาแห่งความสุข และความเจริญ เมื่อเปลี่ยนแปลงใจให้ดีแล้ว สิ่งทั้งหลายก็จะดีไปด้วย         ถ้ารักตัวเอง อยากให้ตัวเรามีความสุข ต้องฝึกใจให้กลับมาอยู่ในตัว เพราะใจดั้งเดิมของมนุษย์มีความสว่าง มีความสุข ความสงบอยู่ในตัว แต่เมื่อถูกโลกหล่อหลอมมานาน ความสว่างนั้นจึงถูกบดบังไป ทำให้ต้องเกิดความทุกข์วนเวียนอยู่เรื่อยไป เพราะไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ใกล้ๆ แค่เอื้อมเท่านั้นเอง        เพียงแค่เอาใจกลับมาอยู่กับตัว…

สิ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติธรรมคืออะไร

    มาดูกันดีกว่าว่าสิ่งที่จะช่วยเกื้อหนุนในการทำสมาธิ หรือการปฏิบัติธรรม ที่จะทำให้ใจของเราสงบหยุดนิ่งได้เร็วมีอะไรบ้าง  ประการที่ 1 ต้องหัดเป็นคนมองโลกไปตามความเป็นจริง     การมองโลกไปตามความเป็นจริง ไม่ได้หมายความว่า เราจะมองโลกในแง่ดีหรือแง่ร้าย แต่ให้มองโลกไปตามหลักโลกธรรม 8 คือ มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ มีคนสรรเสริญ-มีคนนินทา มีสุข-มีทุกข์     ซึ่งธรรม 8 ประการนี้ จะวนเวียนในชีวิตประจำวันของเราอยู่ตลอดเวลา เมื่อมันมากระทบ เราจะต้องไม่หวั่นไหว ทำใจให้เป็นกลางๆ เพราะว่ามันเป็นธรรมดาโลก ประการที่ 2 ทำใจให้เป็นกุศล ให้เบิกบานแช่มชื่นอยู่เสมอ      หากเราเป็นคนที่เป็นคหงุดหงิดง่าย ใจร้อน ขี้น้อยใจ เวลามีอารมณ์ไม่ดีอะไรต่างๆ เหล่านี้เข้ามา ให้ทิ้งอารมณ์นั้นไปให้หมด แล้วทำใจของเราให้ผ่องใส ให้เยือกเย็น สบายๆ ลองนึกถึงบุญกุศลหรือสิ่งที่ทำให้ใจเราสบาย ประการที่ 3 มองทุกๆ คน เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น      คนที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นสามี ภรรยา พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลูกของเรา หรือเพื่อนร่วมงานของเรา ให้มองว่าเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และมีความปรารถนาดีให้กับเพื่อนเราทุกๆ คน เมื่อเรามองอย่างนี้ สิ่งที่เราจะได้รับ คือ ใจเราสบาย จะนั่งนอนยืนเดินมีความรู้สึกเหมือนมีมิตรสหายอยู่ห้อมล้อมตัวเรา เมื่อทำบ่อยๆ ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นมาเอง ประการที่ 4 มองโลกให้ว่างเปล่า ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร      ไม่ว่าเราจะทำอะไร จะทำมาหากิน หรือทำภารกิจอะไร เราก็ทำไปอย่างเต็มที่ แต่ไม่ติดอะไร ทำใจเฉยๆ และนำสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอนมาเป็นอุปกรณ์ในการฝึกอย่างนี้ เวลามานั่งสมาธิจะง่าย เพราะใจสบายตลอดทั้งวันอยู่แล้ว เนื่องจากเราไม่ติดเรื่องกระจุ๊กกระจิ๊ก เรื่องปลีกย่อย  มุ่งแต่เรื่องหลักใหญ่ คือ การปฏิบัติธรรม เรื่องปลีกย่อยที่จะทำให้ใจขุ่นมัวก็หมดไป พอใจสบายเบิกบาน ยังไม่ทันนั่งขัดสมาธิ ตายังไม่ทันหลับ ใจก็สงบ หยุดนิ่งได้ง่ายๆ เลย     หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะเริ่มต้นทำสมาธิ เพื่อค้นพบความสงบและความสุขจากการทำสมาธิ หรือต่อยอดการทำสมาธิ ลองมาร่วมกันฝึกสมาธิแบบง่ายๆ มีพระอาจารย์คอยแนะนำ สามารถปรึกษา ถามตอบปัญหาสด ใน คอร์สสมาธิออนไลน์กลั่นใจให้เป็นสุข ซึ่งเป็นคอร์สเรียนฟรีตลอดหลักสูตร  หากต้องการสมัครหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

อะไรคือหัวใจของการทำสมาธิ

     คุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกแบบนี้ไหม อยากฝึกสมาธิให้ใจสงบ ให้ได้ผลและก้าวหน้า แต่ก็ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ในบทความนี้เรามีคำตอบให้คุณค่ะ       การฝึกสมาธิให้มีใจที่สงบหยุดนิ่ง เป็นกิจที่สำคัญสำหรับการมาเกิดเป็นมนุษย์ เพราะจะทำให้เรา ‘พบความสุขที่แท้จริง’ และพบ ‘ความเป็นจริงของชีวิต’ เราจึงควรที่จะต้องทำควบคู่กันไปในชีวิตประจำวัน และสิ่งที่จะช่วยให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า คือ ต้องทำถูกวิธี และทำอย่างสม่ำเสมอ         หากเราอยากทำให้สม่ำเสมอ เริ่มต้นก็ลองหาช่วงเวลาที่สะดวก ที่จะทำให้เราสามารถนั่งสมาธิในทุกๆ วัน ซึ่งหากเรานั่งสมาธิทุกวัน สมาธิจะค่อยๆ สั่งสมไปทีละเล็ก ทีละน้อย แต่ถ้าเราทำไม่ต่อเนื่อง ก็เหมือนเราต้องมาเริ่มต้นใหม่ทุกครั้ง เพราะฉะนั้น ความต่อเนื่องจึงเป็นหัวใจของการทำสมาธิ ทำให้ได้ทุกๆ วัน จะมากหรือน้อยก็หมั่นทำไปเรื่อยๆ ให้เป็นเหมือนกิจวัตรประจำวันของเรา      และเมื่อทำสมาธิไปแล้ว แม้บางครั้งเราอาจรู้สึกท้อ รู้สึกว่าสมาธิไม่ก้าวหน้า ซึ่งก็เป็นเพราะเราไปยึดถือเอาว่า นั่งสมาธิแล้วต้องใจสงบ หรือนั่งแล้วต้องได้ผลเหมือนวันก่อนหน้านี้ แต่แท้จริงแล้วเรื่องใจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ในช่วงที่ฝึกใหม่ๆ แต่ละวัน หรือแต่ละรอบอาจจะได้ผลที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ เหตุปัจจัย แต่ถ้าหากเรานั่งสมาธิไปทุกๆ วันแล้ว สมาธิจะค่อยๆ สั่งสมและก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ แม้เราจะมองไม่เห็นก็ตาม        หากจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ เมื่อเราหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ต้นไม้นั้นก็เติบโตขึ้น อาจจะโตขึ้นวันละเล็กวันละน้อย หรือแทบจะมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเราหมั่นดูแลไปเรื่อยๆ สักวันต้นไม้ก็จะเติบโตและให้ดอกให้ผล เช่นเดียวกันกับการนั่งสมาธิ ถ้าเราทำทุกวัน สมาธิก็จะค่อยๆ สั่งสมไปทีละเล็ก ทีละน้อย พอถึงจุดที่มันอิ่มตัวเต็มที่ก็จะเห็นผล และเมื่อเห็นผลแล้วก็อย่าทิ้งนะ สมาธิเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตเราเลย เพราะจะต้องใช้ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของเรา ก่อนละโลกจะได้มีสติที่สมบูรณ์ และนำเราไปสู่ภพภูมิที่ดี        ดังนั้น เวลานั่งสมาธิช่วงไหนได้ผลดี ก็อย่าชะล่าใจ อย่าคิดว่าจะทำเมื่อไรก็ได้ คงดีเหมือนเดิม อย่าคิดอย่างนั้นนะ ให้ทำสมาธิให้ต่อเนื่องในทุกๆ วัน และเมื่อต่อเนื่องจนได้ผลในระดับหนึ่งแล้ว เราจะมีกำลังใจอยากที่จะทำให้สมาธิมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป โดยการที่จะทำให้มั่นคงขึ้น เราก็ต้องฝึกสติ คือการดึงใจกลับมาอยู่กับตัวบ่อยๆ และทำอย่างสบายๆ แล้วหมั่นสังเกตว่าเราทำถูกหลักไหม คือมีสติและสบายควบคู่กันไหม สังเกตว่าอะไรที่จะทำให้สมาธิไม่ก้าวหน้า เราก็ปรับไปเรื่อยๆ อย่างนี้ในทุกๆ วัน เพราะการทำสมาธิเป็น ‘วิชชาชีวิต’ เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับตัวของเรา ที่จะทำให้เรา ‘มีที่พึ่งภายใน’ และจะมีความสุขด้วยตัวของเราเอง   หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะเริ่มต้นทำสมาธิ เพื่อค้นพบความสงบในใจ หรืออยากที่จะต่อยอดการทำสมาธิ ก็สามารถมาลองฝึกสมาธิแบบง่ายๆ มีพระอาจารย์คอยแนะนำ สามารถปรึกษา ถามตอบปัญหาสด…

ทำบุญอะไร อานิสงส์แรง

    เวลาทำบุญเราก็อยากทำให้ถูกหลักและทำแล้วได้บุญมากๆ แล้วบุญอะไรล่ะที่ลงทุนน้อย แต่ได้บุญมากกว่าบุญอื่นๆ อย่างเทียบกันไม่ได้เลย         ก่อนอื่นมาดูความหมายของบุญก่อนว่าหมายถึงอะไร คำว่า “บุญ” หมายถึง การกระทำความดี บุญมาจากภาษาบาลี คือ คำว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ การชำระจิตใจจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายโลภะ โทสะ หรือโมหะ       “บุญ” ในอีกความหมาย แปลว่า เต็ม มีความสุข เป็นการตั้งใจและเต็มใจทำ ผลคือเกิดความสุขในระยะยาว เพราะฉะนั้นแล้วบุญที่ทำแล้วได้บุญมากที่สุดก็คือ บุญที่จะช่วยชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ มีผลให้เกิดความสุขในระยะยาวมากที่สุด ก็คือบุญจากการเจริญสมาธิภาวนา เพราะทำให้ใจได้รับความสุขสงบ และทำให้สามารถพ้นทุกข์ได้ในที่สุดนั่นเอง        การเจริญภาวนาเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมาก (แต่ถึงอย่างไร สมาธิจะดีได้ก็ต้องมีศีลเป็นฐานก่อน) เพราะทำให้สามารถพ้นทุกข์ได้ อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล 227 ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่า ผู้ที่ทำสมาธิ เพียงให้จิตสงบนานเพียง ชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู”      คำว่า “จิตสงบ” ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงสมาธิในระดับที่แน่วแน่มั่นคง แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้     เหตุที่การทำสมาธิได้อานิสงส์มากเพราะ หากผู้ใดทำสมาธิจนจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียว หรือมีใจที่สงบ หยุดนิ่งแล้ว ก็จะมีกำลัง และอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญภาวนาในระดับที่สูงขึ้นไป จนกระทั่งเกิดเป็นปัญญาที่ไม่ได้เป็นเพียงการนึกคิดและคาดหมายเอา แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า “ญาณทัสสนะ” ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้งเห็นจริงนั่นเอง       เมื่อเกิดการเห็นแจ้งหรือวิปัสสนาญาณแล้ว ย่อมทำให้กิเลสเบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆ ขึ้นไป ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจิตที่สงบหยุดนิ่งก่อน ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีทางที่จะเจริญวิปัสสนาปัญญาได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง 100 ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม ”       ดังนี้จะเห็นได้ว่าวิปัสสนาเป็นสุดยอดของการสร้างบารมี และเป็นบุญที่ไม่เหนื่อยยากลำบาก…

หมดปัญหานอนไม่หลับ เพราะใช้วิธีนี้

     วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยพัฒนาระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยทำให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย ช่วยลดภาวะนอนไม่หลับ เนื่องจากจะช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง ลมหายใจผ่อนคลายลง ส่งเสริมให้การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น มีผลวิจัยยืนยันว่า การทำสมาธิเพียงไม่กี่นาทีช่วยได้อย่างมากเลยทีเดียว “การทำสมาธิ ช่วยกระตุ้นระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอน”   เพราะการทำสมาธิจะไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับการนอนให้ทำงานได้ดีขึ้น ผ่อนคลาย ลดความเครียด เกิดการหลั่งสารภายในสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยให้นำหลับ และ สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin (ซีโรโทนิน) ที่ช่วยให้ร่างกายหลับ ให้มีปริมาณสูงขึ้น  หัวใจเต้นช้าลง ความดันเลือดลดต่ำลง ทำให้เราเข้าสู่สภาวะสงบ และผ่อนคลาย เสริมการหลับได้ง่ายขึ้น       ซึ่งมีการศึกษาวิจัยของ JAMA ได้ทำการทดลองในผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ อายุตั้งแต่ 49 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มหนึ่งให้นั่งสมาธิ อีกกลุ่มให้ความรู้เกี่ยวกับการนอนให้การนอนดีขึ้น โดยทดลอง 1 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ฝึกนั่งสมาธิ มีภาวะนอนไม่หลับ (Insomia) ลดลง, ภาวะซึมเศร้า (Depression) ลดลง และอาการเหนื่อยล้า (Fatique) ลดลง “พื้นฐานของการทำสมาธิ คือ การฝึกให้รู้สึกตัวอยู่กับปัจจุบัน”      พื้นฐานของการทำสมาธิ คือ การฝึกให้เรารู้สึกตัวอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งการนั่งสมาธิต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึก ช่วงแรกอาจจะมีอาการฟุ้งซ่านบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ให้ประคองความรู้สึกตัวหรือสติด้วยใจที่สบายๆ ผ่อนคลาย แรกๆ อาจเริ่มต้นจากการนั่ง 3-5 นาทีก่อนนอน เมื่อทำได้ดีมากขึ้น ค่อยปรับเป็น 15-20 นาที      และหากใครไม่เคยนั่งสมาธิมาก่อน หรือนั่งแล้วยาก ยังทำไม่ค่อยจะได้ แต่อยากได้ประโยชน์จากการทำสมาธิ ก็สามารถมาลองฝึกสมาธิแบบง่ายๆ สบายๆ ผ่อนคลายกับ คอร์สสมาธิออนไลน์กลั่นใจให้เป็นสุข  หลักสูตรเรียนฟรี 7 วันต่อเนื่อง ไม่เสียค่าใช้จ่าย         หากทำสมาธิบ่อยๆ เราจะรู้จักวิธีเคลียร์จิตใจ ลดความกังวล ผ่อนคลายจิตใจ นอนหลับได้สนิท มีประสิทธิภาพในการนอน ตื่นเช้าได้ง่ายและรู้สึกสดชื่น และถ้าทำเป็นกิจวัตรได้แล้ว เราก็จะมีเวลามากขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น และเราจะมีความสุขมากขึ้นด้วย “เติมเต็มสุขภาพกายและใจไปพร้อมกันด้วยสมาธิ”

12 นิสัยเปลี่ยนชีวิต

        นิสัยอะไรที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนชีวิตและฝ่าฟันกับทุกอย่างได้ หากสร้างมันให้แข็งแรง บทสรุปจากหนังสือที่มีชื่อว่า ‘Have A Nice LIfe’ ของคุณนิ้วกลม ซึ่งผู้เขียนได้อ่านหนังสือหลายๆ เล่มและลองนำมาปฏิบัติจริง ใครที่ได้อ่านเล่มนี้เหมือนได้อ่านสรุปหนังสือหลายสิบเล่มเลย แล้วมีนิสัยอะไรบ้าง ไปดูกันเลยย…. นิสัยที่ 1 ฝึกตื่นให้เช้าขึ้น       การตื่นแต่เช้าในที่นี้ หมายถึงการตื่นให้เร็วขึ้น เพื่อทำสิ่งที่อยากทำ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือได้ทำประโยชน์มากขึ้น หากเราตื่นได้เร็วขึ้น 1-2 ชั่วโมง เมื่อนับเป็นปี เราจะมีเวลาเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย นิสัยที่ 2 จัดเวลา        ปรับเวลาชีวิตและการทำงานให้เหมาะสมกับตัวเอง เพราะคนเรามีช่วง Flow ต่างกัน หากจัดประเภทที่เหมาะกับเราได้จะมีประโยชน์มาก แยกแยะความสำคัญและเร่งด่วนของกิจกรรมต่างๆ จากนั้นลงมือทำสิ่งที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วนก่อน เพราะหากไม่ทำแต่เนิ่น สุดท้ายก็จะกลายเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่ต้องทำอยู่ดี   และอีกอย่างคือการจัดลำดับความสำคัญ และลดทอนกิจกรรมที่ไม่จำเป็น กิจกรรมที่ทำให้มากขึ้น เช่น การออกกำลังกาย การวางแผนงาน การดูแลความสัมพันธ์ของครอบครัว นิสัยที่ 3 ฝึกทำงานยากก่อน     แจกแจงเรื่องที่ต้องทำในแต่ละวัน แล้วทำงานที่ยากก่อน ไม่ควรใช้เวลากับกรวดทรายที่ไม่สำคัญก่อนหินก้อนใหญ่ จากหนังสือของ Brian Tracy เปรียบเทียบงานที่ยากและสำคัญมากที่สุดนั้นคือกบ เมื่อเราตื่นเช้ามาก็ให้ยัดกบนั้นเข้าปาก หรือทำสิ่งนั้นก่อน จากนั้นเรื่องอื่นๆ จะกลายเป็นเรื่องง่าย ทั้งวันเราจะรู้สึกสบาย สมองจะตื่นตัวมากขึ้น เพราะได้ทำงานยากไปแล้ว กำหนดเส้นตายหลอกในการทำงานขึ้นมา เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น เช่น งานกำหนด 3 วัน ให้คิดว่าทำภายใน 1 วัน แล้วเราจะทำตามนั้นได้ นิสัยที่ 4 ฝึกไต่บันไดความล้มเหลว      การทำอะไรก็ตาม จะสำเร็จหรือล้มเหลว ไม่สำคัญเท่าเราเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์นั้น และจงเข้าใจว่าความล้มเหลวเป็นขั้นตอนหนึ่งของความสำเร็จ แต่เราไม่จำเป็นต้องล้มเหลวเองทั้งหมด สามารถเรียนรู้จากความล้มเหลวของผู้อื่นได้ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งจะช่วยให้เราผ่านปัญหาใหญ่ในชีวิตได้ เราจะมีใจที่เปิดกว้างและยอมรับในข้อด้อยของตนเอง  นิสัยที่ 5 ฝึกเทชาออกจากถ้วย      ถ้วยชาที่เต็มแล้วไม่สามารถใส่อะไรลงไปได้อีก เทชาออกมาพักไว้ก่อน แล้วกล้าโง่บ้าง เราจะทำอะไรได้หลากหลายและสนุกกับการทดลองมากขึ้น คนที่มี growth mindset จะมีความคิดเน้นที่กระบวนการ ไม่เน้นผลลัพธ์ เน้นการเรียนรู้จากการลงมือทำ เพื่อให้เราได้เติบโต นิสัยที่ 6 ฝึกคิดช้า สมองระบบ 1 คิดเร็ว ใช้ความรู้สึก   …