Category สาระความสุข

Nice to meet you รู้จักสมาธิกับคำถามยอดฮิต I สมาธิแค่นั่งเฉย ๆ ดียังไง ?

คุณเคยได้ยินคนที่ ทำไมไปนั่งสมาธิแล้วชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ??? ทำไม แค่การนั่งหลับตาเฉยๆ มันช่วยอะไร ???       Nice to meet you รู้จักสมาธิกับคำถามยอดฮิต 2 ข้อ อ่านจบแล้วคุณจะสามารถออกแบบชีวิตของคุณได้ทันทีว่า จะเอาสมาธิมาใช้กับตัวคุณเองยังไง แล้วคุณจะเป็นคนที่ถูกเพื่อนๆ ถามด้วยความชื่นชมว่า  ทำไมนั่งสมาธิแล้วชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น! แล้วคุณจะตอบเพื่อนๆ ด้วยความยินดีว่า เพราะฉันนั่ง “สมาธิ ” Nice to meet you  รู้จักสมาธิกับกับคำถามยอดฮิต ข้อที่ 1 นี้ …ทำไมแค่การนั่งหลับตาเฉยๆช่วยอะไรเราได้ ???       นั่งสมาธิแค่นั่งเฉยๆ แล้วมีความสุขก็เพราะ เราได้เอาความคิด เอาใจเราที่เป็นเหมือนนั่งวิ่ง ที่ชอบวิ่งออกไปนอกบ้าน วิ่งไปที่นอน ที่กิน ที่ทำงาน วิ่งไปที่ๆ เราชอบ ให้กลับมาหาเจ้าของความคิด กลับมาหาเจ้าของจิตใจ กลับมาอยู่ที่เดิมที่ความคิด ที่จิตเราเคยอยู่ มาอยู่ที่ตัวเรา กายเราซึ่งเป็นเหมือนที่พักใจ  พอเลิกวิ่ง  พอได้พักก็เลยหายเหนื่อย หายเพลีย       ยกตัวอย่าง ช่วงที่ผ่านมานี้มีหลายคนที่ไม่เคยนั่งสมาธิ แล้วไปนั่งสมาธิ เช่นคอร์สกลั่นใจให้เป็นสุข ซึ่งเป็นคอร์สนั่งสมมาธิออนไลน์ฟรี แล้วบอกว่าดีมาก ชอบมากและมีหลายเสียงมาก ที่บอกว่า นั่งสมาธิออนไลน์กลั่นใจให้เป็นสุขเนี่ยต้องไปลองก็ต้องไปแล้วแหละ จนมีผู้มาเข้าร่วมนั่งสมาธิหลายรุ่น รวมแล้วเกือบ 50,000 คน ไม่น่าเชื่อว่า แค่นั่งครั้งแรกก็มีความสุข นี่ไงคะเพราะเราได้เอาใจกลับมาพัก ไม่ต้องวิ่ง  แบบนี้ล่ะคะ สมาธิแค่นั่งเฉยๆ ก็มีความสุข Nice to meet you  รู้จักสมาธิกับกับคำถามยอดฮิต ข้อที่ 2 นี้ ควรนั่งสมาธิเวลาไหน ?      สิ่งที่เราจะบอกต่อจากนี้ ถ้าคุณได้ทำอย่างตั้งใจ แล้วไปทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณมีชีวิตดีขึ้นมาก ๆ มีความสุขขึ้นมากๆ       นั่งสมาธิ ควรนั่งเวลาที่เรามีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ บางคน พร้อมตอนตื่นนอนใหม่ ๆ เพราะตอนนั้นอารมณ์เก่าที่คั่งค้างมัน หายไปแล้ว อารมณ์ใหม่เราก็ยังไม่เจอ ถ้ามีเวลาเพียงพอก็ให้นั่ง ตอนตื่นนอนตอนเช้าๆ สำหรับบางคน บางคนตอนเช้าไม่สะดวก ต้องรีบไปทำงาน มีเวลาช่วงกลางวัน      เราก็นั่งตอนกลางวัน บางคนก็ช่วงก่อนนอน อาบน้ำพอใจสบาย ก็นั่งตอนนั้น บางวันก็ไม่เหมือนกัน…

ส่งผลการปฏิบัติธรรม

ส่งผลการปฏิบัติธรรม คอร์สสมาธิออนไลน์ “กลั่นใจให้เป็นสุข” Email ผลการปฏิบัติธรรม ส่งผลการปฏิบัติธรรม

ลงทะเบียนปีใหม่เรียบร้อยแล้ว

ท่านได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว มาเติมสุขให้ใจ ต้อนรับปีใหม่ 🌱 ระหว่างวันที่ 30 ธ.ค. 64 – 1 ม.ค. 65 🌷สามารถเข้าคอร์สผ่านหน้าเว็ป  www.glunjai.com 🌸สามารถเข้าคอร์สทาง Zoom ที่ลิงก์ www.glunjai.com/zoom-newyear ✨ มาเติมสุขให้ใจ สดใสทุกวัน ต้อนรับปีใหม่ ✨ Facebook-f Twitter Youtube

5 วิธีสร้างสุขสำหรับการเปลี่ยนแปลงหลังเกษียณอายุ

กลุ่มคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยเกษียณอายุราชการ อาจยังไม่ชินกับการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน รู้สึกเคว้งกับการที่ไม่ต้องไปทำงานแล้ว ทำให้หลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ทัน “กรมสุขภาพจิต” ได้แนะแนวทางวิธีรับมือในเรื่องนี้ไว้ 5 วิธี ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงชีวิตหลังวัยเกษียณมีอะไรบ้าง 1. บทบาทและหน้าที่ทางสังคม บทบาทและหน้าที่ในการทำงานนั้นจะหายไป สิ่งนี้ต้องอาศัยการปรับตัวกับบทบาทและหน้าที่ใหม่ หากไม่ได้วางแผนหรือมีบทบาทใหม่รองรับ อาจทำให้รู้สึกอ้างว้าง ขาดเป้าหมาย ขาดการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง 2. สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตนเองเพราะเมื่อถึงวัยเกษียณ นั่นหมายถึงว่า เราได้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ฉะนั้นต้องหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพตนเองให้มากขึ้น 3. การเข้าสังคม การเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมงานนั้นน้อยลง อาจทำให้รู้สึกเหงา อ้างว้าง ถ้าหากกลุ่มเพื่อนส่วนใหญ่เป็นเพื่อนร่วมงาน 4. การเงิน การใช้เงินหลังเกษียณอาจมีปัญหา หากไม่มีการวางแผนการใช้เงินก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วรายได้หลักจากการทำงานนั้นจะหายไป อาจได้เงินจากการเกษียณมาก้อนหนึ่งหรือได้เป็นเงินบำนาญ แต่ก็ต้องวางแผนการการออมเงินก่อนวัยเกษียณและวางแผนการประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายทั่วไป และการเข้าสังคม ซึ่งอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกันกับรายได้ที่ลดลง 5. การดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องด้วยเวลาในการทำงานนั้นขาดหายไปทำให้เหลือเวลาว่างเกิดขึ้นมากมาย 6. ครอบครัว การเข้าสู่วัยเกษียณนั้น สิ่งที่ตามมา คือ การเปลี่ยนบทบาทในครอบครัวจากคนที่หารายได้เข้ามาในบ้านหรือเป็นเสาหลักภายในบ้านกลายมาเป็นวัยผู้สูงอายุในบ้าน โดยอาจมีหน้าที่ที่แตกต่างไป เช่น ดูแลบ้าน อบรมเลี้ยงดูลูกหลาน 5 วิธีสร้างสุขสำหรับการเปลี่ยนแปลงหลังเกษียณอายุ 1. สุขสบาย – ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายตามศักยภาพและความสนใจ ไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการออกแรงกายในชีวิตประจำวัน สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ตามสภาพที่เป็นอยู่ ทำงานอดิเรกที่ชอบ มีเศรษฐกิจหรือปัจจัยที่จำเป็นเพียงพอ ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อสุขภาพ 2. สุขสนุก – ผู้สูงอายุสามารถเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน ด้วยการทำกิจกรรมนันทนาการ หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้อารมณ์ดี จิตใจสดชื่น แจ่มใส กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา รวมถึงการเล่นกีฬา ดนตรี และทำงานศิลปะ 3. สุขสง่า – เป็นการสร้างความรู้สึกพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจ ความเชื่อมั่น การยอมรับนับถือ การให้กำลังใจตนเอง ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การเอื้อเฟื้อแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานบ้าน ดูแลเด็ก ช่วยเหลือกิจกรรมในครอบครัวและชุมชน เป็นต้น 4. สุขสว่าง – เป็นความสามารถของผู้สูงอายุในด้านความจำ ความคิดอย่างมีเหตุมีผล การสื่อสาร การวางแผนแก้ปัญหา และการจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การคิดอย่างมีเหตุผล…

สมาธิที่มากกว่าการผ่อนคลาย

     ในยุคปัจจุบันนี้ ผู้คนบนโลกล้วนตกอยู่ในยุคแห่งความเครียด ความกังวล ความเร่งรีบ และความเลวร้ายของโรคระบาด ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ทุกคนมีความคลายจากปัญหาดังกล่าว และยังเป็นกระแสที่มาแรงในตอนนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของการทำสมาธิ ที่สามารถนำมาบำบัดจิตใจให้มีความสามารถรับมือจากปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งการทำสมาธิก็ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่คุ้นชินกับกิจกรรมที่อยู่นิ่งๆ กับตัวเองที่มากกว่าการผ่อนคลาย อยู่กับใจของเรา อยู่กับความสบายอย่างการทำสมาธิ      สำหรับคนที่ยังไม่เคยทำสมาธิมาก่อน อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากทำไม่ได้ หรือไม่เชื่อว่าการทำสมาธิจะมีประโยชน์มากมายขนาดนั้น ดังนั้นจึงอยากชวนคุณมาเริ่มทำสมาธิง่ายไปพร้อมๆ กัน โดยอาศัยเทคนิคการทำสมาธิแบบง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำตามได้ ไม่ว่าจะคุณจะเป็นคนขี้เบื่อ หรือมีไลฟ์สไตล์ แบบไหนก็ตาม “4 ขั้นตอนง่ายๆ” เริ่มนั่งสมาธิ เริ่มจากการเลือกสถานที่ที่คุณชอบ นั่งให้สบายและผ่อนคลายจะนั่งบนที่นุ่มๆ หรือบนพื้น หรือบนเก้าอี้ ขอเพียงอย่านั่งบนเตียงนอนของคุณตคุณอาจจะหลับก่อนได้ ยืดตกขึ้น ไม่นั่งหลังค่อม วางมือในท่าที่ถนัด ไม่จำเป็นต้องอยู่ในท่าขัดสมาธิเสมอไป โยกซ้าย โยกขวา เบาๆสัก 2-3 ครั้ง อาจจะเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ ให้ผ่อนคลาย เพื่อให้ร่างกายสงบลง และเป็นการส่งสัญญาณบอกตัวเองว่าเรากำลังเข้าสู่โหมดทำสมาธิ เคลียร์สมองให้โล่ง เลิกพะวงถึงเรื่องใดๆ วางทุกสิ่ง ทิ้งทุกอย่าง เข้าสู่การทำสมาธิ โดยจะลืมตาหรือหลับตาก่อนก็ได้ หายเข้าใจทางจมูก ปิดปาก โฟกัสที่การหายใจเข้าและผ่อนออก ลึกๆ ยาวๆ สัก 2-3 ครั้ง หากในหัวคุณเริ่มมีความคิดเตลิดหรือมีอะไรโผล่เข้ามา ให้คุณลืมตาขึ้นมา แล้วให้ใจผ่อนคลาย แล้วค่อยๆเริ่มหลับตาลงใหม่อีกครั้ง (ขั้นตอนนี้จะยากในช่วงแรกแต่เมื่อทำไปบ่อยๆ จะชินไปเอง)      แน่นอนว่าในช่วงแรกแม้เพียงไม่กี่นาที อาจดูเหมือนนานนับชั่วโมง แต่หากคุณฝึกฝนเป็นประจำทุกๆวัน อาจจะเช้าหลังตื่นนอน ก่อนเข้านอน หรือทุก 1 ชั่วโมงขอ 1 นาที  จิตของคุณจะนิ่งขึ้น บางวันอาจทำได้ดี ในขณะที่บางทีก็เอาไม่อยู่ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการทำสมาธิ แต่หลักสำคัญคือให้ทำเป็นประจำเพื่อฝึกจิตและสมอง และเพื่อให้คุณเข้าถึงประโยชน์สูงสุดของการทำสมาธิ  มาเติมสุขให้ใจทุกวัน เติมวันละนิดจิตแจ่มใส ถ้าเมื่อใจใจติดแล้ว เราจะหลงรักการนั่งสมาธิ ทำไมต้อง “นั่งสมาธิ”       การทำสมาธิช่วยลดคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ทำให้เราเครียดน้อยลง และคลายความวิตกกังวลที่อาจนำพาไปสู่ภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการนอน หลังมีผลการวิจัยระบุว่าผู้ที่ทำสมาธิเป็นประจำจะหลับลึกและยาว ทำให้การนอนของคุณมีคุณภาพยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยลดความดันโลหิต เพิ่มภูมิคุ้มกัน ความจำ และทำให้เราสามารถรับมือกับความเจ็บปวดที่เกิดจากความเครียด หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย       นอกจากเรื่องสุขภาพแล้ว การทำสมาธิยังเป็นประโยชน์กับงาน ทำให้เราโฟกัสและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ สามารถครองสติภายใต้ความกดดัน ด้านการเรียนรู้ ก็จะทำให้เราซึมซับความรู้ได้มากขึ้น มีความเข้าใจได้รวมเร็วขึ้น และสุดท้ายการทำสมาธิยังช่วยให้คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง หลังกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น…