Category เคล็ดลับความสุข

นั่งอย่างอารมณ์สบายคือ

นั่งอย่างอารมณ์สบาย วิธีวางใจ นั่งสมาธิที่ถูกวิธี ช่วงเริ่มต้นนั่งสมาธิ ถ้าเราฝึกจับจุดความสบายได้ถูกวิธี จะทำให้ได้ความสุข ในทุกรอบนั่ง ใจก็จะหยุดนิ่งต่อเนื่องยาวนานขึ้น การหยุดนิ่ง ขึ้นอยู่ที่การจับจุดของเราได้ โดยเริ่มต้นจาก “จุดที่ง่าย จุดที่คล่อง และสบาย” ต้องสังเกตว่าเราเริ่มต้นถูกรึเปล่า จำวิธีการ อย่าจำอารมณ์ เราแค่จำวิธีการว่า วันนี้นั่งสมาธิเราทำอย่างไร คราวต่อไปเราก็ทำอย่างนั้นให้จำวิธีการ นิ่งๆ เฉยๆ อย่าจำอารมณ์หรือประสบการณ์ที่ได้ แต่ให้จำว่า “ทำอย่างไรถึงได้อย่างนั้น” ตัวชี้วัดว่า เรานั่งสมาธิได้ถูกวิธีแล้ว ถ้านั่งสมาธิแล้วรู้สึกนิ่งๆ มีอารมณ์เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์อะไรแสดงว่า “เราลุ้นลึกๆ” คือ ตั้งใจดี แต่วิธีการไม่ถูกต้อง ก็แก้วิธีการใหม่ นั่งสมาธิแล้วต้องมีความสุขเพิ่มขึ้นๆ บริสุทธิ์ เพิ่มขึ้นๆ อย่างนี้จึงจะถูกวิธี ถ้าเรานั่งถูกวิธี เราจะรู้สึกอยากนั่งสมาธิเองและสังเกตว่า ที่เรานั่งสมาธิดี เราทำอย่างไร ถ้าเรานั่งสมาธิไม่ได้ดี เป็นเพราะอะไร

จุดเริ่มต้นของความสุข

จุดเริ่มต้นความสุข คือ การเริ่มหลับตาให้ถูกวิธี เพราะถ้าหลับตาถูก จะทำให้เข้าถึงประสบการณ์ภายในได้และความสุข...

สบายคือ

สบายคือ ? สบายเบื้องต้น ของการนั่งสมาธิ คือ ความรู้สึกเฉยๆ “จะสุขก็ไม่เชิง ทุกข์ก็ไม่ใช่” อยู่ในสภาพที่เฉยๆ ทำใจว่างๆ มองโลกนี้ให้ว่างเปล่า ใจว่างๆ นิ่งๆ ง่ายแสนง่าย เป็น Keyword คำว่า “สบาย” คำเดียวกัน แต่ปริมาณแห่งความสบายนั้นมันไม่เท่ากัน ตั้งเเต่สบายปริมาณน้อย จนกระทั่งมีปริมาณเพิ่มพูนขึ้น ดังนั้นวิธีนั่งสมาธิง่ายๆ คือ แสวงหาอารมณ์สบาย พอเราสบายอย่างมีสติ สมาธิที่เราคิดว่ามันยากมันจะกลายเป็นของง่ายสำหรับเรา อะไรง่าย ให้ทำอีก วิธีการใดที่ทำได้อย่างง่ายๆ ให้ทำบ่อยๆ ซ้ำๆ ทำถูกวิธี คือ เราจะมีความสุข ความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น อย่างง่ายๆ ทำอย่างสบายๆอย่างต่อเนื่อง อะไรที่ยาก แสดงว่าผิดวิธี ให้ทิ้งไป อย่าไปทำอีก

วิธีปรับใจให้สบาย

วิธีปรับใจให้สบาย คิดแต่เรื่องที่สบาย พระพุทธเจ้าท่านแนะนำสั่งสอนมีอยู่ 10 วิธี เขาเรียกว่า อนุสติ 10 คือ 1.พุทธานุสสติ – ระลึกถึงพระพุทธเจ้า 2.ธัมมานุสสติ – ระลึกถึงคุณพระธรรม 3.สังฆานุสสติ – ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ 4.สีลานุสสติ – ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา 5.จาคานุสสติ – ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค 6.เทวตานุสสติ – ระลึกถึงคุณที่ทำให้คนเป็นเทวดา 7.มรณัสสติ – ระลึกถึงความตาย 8.กายคตาสติ – ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม 9.อานาปานสติ – กำหนดลมหายใจเข้าออก 10.อุปสมานุสสติ – ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน ทางลัด วิธีปรับใจให้สบาย คือ ทำใจให้ว่าง ๆ นิ่งเฉย ๆ ทำตัวประหนึ่งว่า เราอยู่คนเดียวในโลก ไม่มีพันธะ

วิธีปล่อยวางอารมณ์โกรธ

ต้องปล่อยวางจริงๆ เมื่อมีความขัดเคือง ขัดใจ โมโห โกรธ ไม่พอใจ เราต้องพิจารณาว่า ทุก ๆ คนเคยเกิดมาหลายภพหลายชาติ เราคงเคยไปทำผิดพลาดล่วงเกินผู้อื่นมาก่อน จึงจำเป็นต้องฝึกความอดทนอดกลั้น เพราะยังไม่มีใครสมบูรณ์ อาจขัดหูขัดตา ขัดใจเราบ้างก็อย่าสนใจ ให้สนใจแต่ตัวเรา ต้องรู้จักให้อภัยเสมอต่อผู้ที่มากระทบกระทั่ง ต้องสอนตัวเองว่า “เราเรียนนั่งสมาธิเพื่อตัวเรา ไม่ใช่เพื่อคนอื่น” ต้องปล่อยวางจริง ๆ คิดว่าหากต้องตายในอีก 5 นาที จะต้องเตรียมตัวอย่างไร ปล่อยวางอารมณ์โดยหายใจออกแรงๆ สั่งความหมอง ความขุ่นมัวออกไป ให้มีแต่ความใสอย่างเดียว รักษาใจให้ผ่องใส ไม่ประมาท ออกห่างจากสิ่งที่อสัปปายะ สอนตัวเองว่าถึงฟ้าจะถล่มแผ่นดินจะทลาย จำไว้สองคำว่า “ช่างมัน”

นั่งสมาธิแล้วหลับ

นั่งสมาธิแล้วหลับ ถ้านั่งสมาธิแล้วหลับ เราต้องมาสังเกตว่าที่เราหลับเป็นเพราะเราพักผ่อนน้อยหรือเปล่า เหนื่อยมากหรือเปล่า ถ้าพักผ่อนน้อยเราก็ควรปล่อยให้หลับไปก่อน แต่ถ้าหากว่าเป็นที่ใจ คือ เราก็พักผ่อนเต็มที่ เหนื่อยก็ไม่เหนื่อย อย่างนี้ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ หรืออาจจะนึกนิมิตแสงสว่าง เช่น นึกนิมิตเป็นดวงอาทิตย์ ไว้ภายในตัว แล้วดูไปเรื่อยๆ ตาจะได้สว่าง แล้วตั้งสติของเรา เอาชนะความง่วงให้ได้

สบาย ทำอย่างไร

“สบาย” ทำอย่างไร เวลานั่งสมาธิ ให้ทำอย่างสบายๆ สบาย หมายถึง ทำให้ใจผ่อนคลาย ใจเป็นอิสระ โดยที่ไม่ต้องไปกังวลในเรื่องราวต่างๆ ภายนอก วางใจโดยไม่มีลุ้น ไม่มีดัน ให้ใจแช่อิ่มอยู่กับภายใน จากการนั่งสมาธิ มันคนละความหมายกับคำว่า “สบายทางโลก” คือ ความสะดวกสบาย ในการใช้ชีวิตประจำวัน และทำตามใจตัวเอง โดยที่ไม่ได้อยู่ในกฎระเบียบ