มารู้จักความลับ! สมาธิ 40 วิธี แบบไหนใช่สำหรับคุณ

คุณเคยมีความรู้สึกแบบนี้ไหม กลัวจะนั่งสมาธิผิด เลยไม่กล้านั่ง หรือ เคยเป็นแบบนี้ไหม อยากฝึกสมาธิแต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือเคยสงสัยมั้ย นั่งสมาธิแบบไหนดีสุด เพื่อไม่ให้คุณหลงทางในการฝึกสมาธิ มารู้จักสมาธิในพระพุทธศาสนาและสมาธินอกพระพุทธศาสนากันก่อนจะได้แยกได้ถูกต้อง  

สมาธิมี 2 แบบ คือ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ

แบบที่ 1 สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจากการน้อมจิตเข้าไปตั้งอยู่ในกายของตนเอง ทำให้จิตใจสะอาด สงบ ว่องไว และมีความเห็นถูก สามารถทำใจให้ตั้งมั่น หนักแน่น ไม่วอกแวกและก่อให้เกิดความสงบ เย็นกายเย็นใจ

แบบที่ 2 มิจฉาสมาธิ คือสมาธินอกพระพุทธศาสนา เป็นการกำหนดใจไว้ภายนอกตัว ปล่อยใจให้ซัดส่าย ฟุ้งซ่าน หรือมุ่งจดจ่ออยู่กับกามคุณหรือสิ่งที่ไม่เป็นกุศล เป็นสมาธิที่นำมาซึ่งความร้อนใจ เป็นสมาธิที่ไม่ควรฝึก

การทำสมาธิ ตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ 40 วิธี ทุกวิธีล้วนเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียว คือการทำให้จิตใจสงบแต่ที่วิธีการมีเยอะนั้น เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานนิสัยของแต่ละคน เรียกว่า กรรมฐาน 40 วิธี

แบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้

dark, night, bonfire-2600383.jpg
หมวดกสิน เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง

1. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน

2. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ

3. เตโชกสิณ เพ่งไฟ

4. วาโยกสิน เพ่งลม

5. นีลกสิน เพ่งสีเขียว 

6. ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง

7. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง

8. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว

9. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง

10. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ

หมวดอสุภกรรมฐาน 10 วิธี

เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด เหมาะกับคนที่ติดในร่างกายที่สวยงาม หลงในรูปจนประมาทในการทำความดี ในสมัยพุทธกาลมีคนที่บรรลุธรรมด้วยวิธีนี้เยอะมาก

11. อุทธุมาตก อสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด

12. วินีลก อสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก

13. วิปุพพก อสุภกรรมฐาน เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ

14. วิฉิททก อสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย

15. วิกขายิตก อสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน

16. วิกขิตตก อสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่ง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง

17. หตวิกขิตตก อสูภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและพ่อนใหญ่

18. โลหิตก อสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ

19. ปุฬุวก อสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่

20. อัฏฐิก อสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก

อนุสสติกรรมฐาน  10 วิธี

อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว

21. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

22. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์

23. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์

24. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์

25. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์

26. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์

27. มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์

28. กายคตานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต

29. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต

30. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์

หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา

31. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส

หมวดจตุราตุววักฐาน

32. ตุธาตุวัฏฐาน 4 พิจารณาร่งกายประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ

หมวดพรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ พรหมวิหาร 4 จึงแปลว่า คุณธรรม 4 ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่

33. เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์ 

34. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์

35. มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน

36. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย

หมวดอรูปฌาณ 4

เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ 4 ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ * เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

37.อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

38.วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

39.อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตรายไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์

40.เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาวร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

ทั้งหมดคือ สมาธิ 40 วิธี แล้วคุณเคยสงสัยมั้ย ทำไมสมาธิมาหลายวิธีขนาดนี้ สมาธิมีตั้ง 40 วิธี แล้วจะปฏิบัติยังไงไหว ทำไมยุ่งยากจัง ถ้าให้เปรียบเทียบง่ายๆ สมาธิเปรียบเหมือนยา” พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนหมอ” อาการป่วยของคนทั้งโลกมีหลายโรค แต่ยังไม่มียาตัวไหน รักษาได้ทุกโรค ยาที่ผลิตมาก็สามารถรักษาโรคเฉพาะทาง ได้บางอาการเท่านั้น สิ่งที่หมอทำคือ เลือกใช้ยารักษาให้ถูกกับโรค เมื่ออาการดีขึ้น เปลี่ยนยา ปรับยา ปรับการรักษาใหม่ 

สมาธิเช่นเดียวกัน  ในเมื่อคนมีหลายนิสัย การจะฝึกสมาธิแค่แบบเดียว ใช้ไม่ได้กับทุกคน จึงมีสมาธิ 40 วิธีให้เลือกปฏิบัติ ให้เหมาะกับนิสัย ไม่ใช่ปฏิบัติทีเดียว ยิ่งปฏิบัติยิ่งไม่ได้ผล  ก็เหมือนกินยา Over dose เกินปริมาณที่ได้รับผลข้างเคียงจากยา

พื้นฐานที่สุดของการฝึกสมาธิคือ เมื่อฝึกสมาธิจนนิสัยบางอย่างดีขึ้น ก็สามารถเลือกทำสมาธิแบบอื่นได้ ไม่จำเป็นต้องทำวิธีเดียวตลอดชีวิต แค่สังเกตตัวเองเหมือนสังเกตอาการป่วย จะแบบไหนก็แล้วแต่ พระอาจารย์ท่านสอนว่า ต้องมีสติควบคุมตัวเองได้  ต้องสบาย ไร้กังวล  นั่งแล้วมีความสุข นั่งแล้วก็คิดว่าถ้าไม่สบายเราก็หยุด ไปเข้าห้องน้ำ จิบน้ำ ยืดเส้นยืดสาย  หลายคนก็จะอาบน้ำให้ร่างกายสะอาดสดชื่นก่อน ถ้ารู้สึกตึง ๆ เครียด ๆ ก็ฟังเพลงเบา ๆ ผ่อนคลายก่อน  ร่างกายต้องสบายก่อน ใจจึงจะสงบนิ่งได้

ดังตัวอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวันตรัสรู้ นั่งสมาธิได้ผล เพราะเลิกทรมานร่างกาย  ท่านอาบน้ำที่แม่น้ำเนรัญชรา ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่าพุทธคยาและอาบน้ำเสร็จ ทานข้าวของนางสุชาดา เป็นข้าวมธุปายาส ข้าวปรุงรสด้วยนมโคสูตรพิเศษ ของอินเดียในยุคนั้น พอกายสบาย ใจจึงเริ่มสบายและสงบนิ่ง บวกกับบารมีที่ท่านสั่งสมมาเต็มเปี่ยมจึงตรัสรู้ธรรม

แม้สมาธิจะมีหลายวิธี แต่การจะทำสมาธิให้ได้ผลดีที่สุด  และเป็นพื้นฐานการทำสมาธิทั้ง 40 วิธี มีการปฏิบัติแค่ อย่างเดียวเท่านั้น คือการฝึกสติ และ สบาย เป็นพื้นฐานการ ‘ฝึกสมาธิ’ ที่ดีที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราก็ทำให้ดูเป็นแบบอย่างในวันตรัสรู้ธรรมแล้ว ว่าต้องสติ และสบาย