วิธีวางใจ
วิธีวางใจ
การวางใจ ของการนั่งสมาธิ มี 3 ลักษณะ คือ
1.วางใจเบาเกินไป
2.วางใจหนักเกินไป
3.วางใจพอดีๆ เบาสบาย มีความสุข
ร่างกายเราจะเป็นผู้บอกว่าเราวางใจ ในตอนนั่งสมาธิเป็นอย่างไร
เบาไป หนักไป หรือพอดีๆ แล้ว
วิธีสังเกต ในตอนที่เรานั่งสมาธิ
"วางใจเบาเกินไป หนักเกินไป หรือพอดี"
วางใจเบาเกินไป : จะรู้สึกง่วงๆ เคลิ้มๆ
สาเหตุ : อาจเป็นเพราะยังไม่รู้ว่าจะวางที่ตรงไหน ใจไม่มีที่เกาะ
แก้ไขโดย : ให้ลองขยับเนื้อขยับตัว สูดลมหายใจลึกๆ ถ้ายังไม่หาย ให้ค่อยๆ ลืมตา แล้วหลับตาทำสมาธิต่อ แต่ถ้าไม่หายจริงๆ ควรลุกขึ้นไปเดิน ล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น แล้วกลับมาทำสมาธิใหม่
วางใจหนักเกินไปไหน : สังเกตได้ที่หัวคิ้ว หน้าผาก ต้นคอ หรือกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกายจะเกร็ง
สาเหตุ : มีความตั้งใจในการนั่งสมาธิมากเกินไป
แก้ไขโดย : ควรปรับใจด้วยอารมณ์สบาย คลายความตั้งใจ หาอารมณ์สบายให้ได้ เวลาที่เริ่มนั่งสมาธิหลับตาเบาๆเหมือนมีแสงผ่านเข้าไปในตาได้หรือระหว่างวันให้รักษาอารมณ์ดีให้ได้ตลอดทั้งวันและเรียนรู้การปล่อยวาง
การวางใจ ในตอนนั่งสมาธิที่ถูกวิธีสังเกตได้อย่างไร
ถ้าเรารู้สึกว่า "เวลาผ่านไปรวดเร็ว" แสดงว่าเราทำถูกวิธี หากเราวางใจเป็นจะเริ่มสนุกในการนั่งสมาธิ รู้สึก ผ่อนคลายตั้งแต่เริ่มนั่ง เหมือนเวลาหมดไปเร็วใจจะใส ใจจะละเอียด เพราะทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ ใจจะสะสมความใส ความละเอียด